ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ.2534
ชื่อเป็นทางการ : นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (Historic City of Ayutthaya)
ที่ตั้ง : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เรียบเรียง : กรรณิการ์ ยศตื้อ
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (Historic City of Ayutthaya)
ความเป็นมา
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (Historic City of Ayutthaya) พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีเก่าแก่ของไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี แม้ว่าภายหลังจะถูกทำลายลงจากภัยสงคราม แต่ยังคงเหลือโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง และ ความมีอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษของชาวกรุงศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
ภาพโดย : สมกิจ วัฒนะเจริญ
จาก http://www.panoramio.com/photo/60186438
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ 76 กิโลเมตรตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ 3 สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 –23
กรมศิลปากร ได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 102 ลงวันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2519 พื้นที่ 1,810 ไร่ และในปี พุทธศักราช 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมเกาะเมืองอยุธยาและพื้นที่รอบนอกเกาะเมืองทุกด้านที่ปรากฏหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี รวมพื้นที่โบราณสถานประมาณ 3,000 ไร่
ภาพจาก : http://www.stock-clip.com/video-footage/buddha+statue/10
ความสำคัญ
ปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากำลังมีการขยายตัวทางกายภาพอย่างมาก โดยมีการขยายเมือง เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การสร้างอาคารที่บดบังทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นการทำลายคุณค่าของโบราณสถาน ตลอดจนการพัฒนาของถนนหนทางภายในเขตเมือง เพื่อรองรับการคมนาคมที่นักท่องเที่ยวต่างมาเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ ทำให้เขตพัฒนาเป็นไปอย่างไร้ทิศทางของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เช่น การสร้างเสาไฟรูปนางหงส์ ที่กระจายอยู่โดยทั่วของใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา ปัญหาของขยะมูลฝอย การสร้างบ้านพัก ที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร อยู่โดยรอบโบราณสถาน และการถมคูคลองต่าง ๆ เป็นต้นดังนั้นหากอุทยานประวัติศาสตร์นครศรีอยุธยาไม่ได้รับการเอาในใส่ดูแลจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ต้องมีความเข้าใจในการพัฒนาเมืองที่เป็นเมืองเก่า ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และทำลายคุณค่าของความเป็นเมืองเก่าที่ได้รับการยอมรับเป็นเมืองมรดกโลก ก็อาจจะทำให้เมืองเก่าแห่งนี้ถูกลดถอยความสำคัญในอนาคตได้
ภาพจาก : http://magicartworld.com/palmbook-photos-by-chakrit-yau/
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
อ้างอิง :
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. กระทรวงวัฒนธรรม . “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaiwhic.go.th/heritage_culture2.aspx
TrueLife. “5 แหล่งมรดกโลกในไทย มีที่ไหนบ้าง?” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://knowledge.truelife.com/content/detail/111544 ( 9 กรกฎาคม 2557)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น