ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2539
ชื่อเป็นทางการ : แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน (Sangiran Early Man Site)
ที่ตั้ง : จังหวัดชวากลาง เกาะชวา อินโดนีเซีย
เรียบเรียง : นัชรี อุ่มบางตลาด
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน (Sangiran Early Man Site)
ความเป็นมา
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ประมาณ 15 กิโลเมตรทางตอนเหนือของเมืองโซโล ในเขตชวากลาง ประเทศอินโดนีเซียความสำคัญ
แหล่งโบราณคดีซังงีรัน เป็นบริเวณชั้นหินที่มีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่กว่า 1.5 ล้านปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 56 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งแหล่งโบราณคดี และเป็นแหล่งขุดค้นทางมนุษยวิทยา มีการขุดค้นพบซากฟอสซิสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 พบฟอสซิลมนุษย์โบราณ ประกอบด้วยฟอสซิล Meganthropus palaeo และ Pithecanthropus erectus/Homo erectus ซึ่งเป็นมนุษย์ยุคแรกเริ่มมีชีวิตอยู่เมื่อ 1.5-1.8 ล้านปีมาแล้ว จำนวนกว่า 50 ซาก และพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินของมนุษย์ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ แสดงให้เห็นถึงที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์และพัฒนาการทางวัฒนธรรมอันยาวนาน นับเป็นสถานที่สำคัญที่ในการศึกษาและทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น
ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ Purbakala Sangiran
ภาพจาก: http://kotawisataindonesia.com/museum-purbakala-sangiran-sragen/
ซากฟอสซิสที่ขุดพบที่ซังงีรัน
ภาพจาก : http://whc.unesco.org/en/list/593
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(vi) มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
อ้างอิง :
Available http://www.worldheritagesite.org/sites/sangiran.html (10 April 2557).
UNESCO World Heritage Centre. “Sangiran Early Man Site” [online].
Available http://whc.unesco.org/en/list/593 (10 April 2014).
Wikipedia free encyclopedia. Wikimedia Foundation. “Sangiran” [Online].
Available http://en.wikipedia.org/wiki/Sangiran (10 April 2014).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น