Pages - Menu

2557/07/14

มรดกโลกในอินโดนีเซีย 6 : อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน

ประเภท : มรดกโลกทางธรรมชาติ
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2534
ชื่อเป็นทางการ : อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park) 
ที่ตั้ง : จังหวัดบันเตน (เกาะชวา) และจังหวัดลัมปุง (เกาะสุมาตรา) อินโดนีเซีย 
เรียบเรียง : นัชรี  อุ่มบางตลาด

อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park) 

ความเป็นมาและความสำคัญ

อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park) เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของอินโดนีเซีย มีเนื้อที่รวมประมาณ 782 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอูจุงกูลอน และหมู่เกาะนอกฝั่ง รวมถึงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ กรากะตัว ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟกรากะตัว ซึ่งเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2426 สร้างความเสียหายรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก  (แรงสั่นสะเทือนและหมอกละอองภูเขาไฟ รู้สึกได้ถึงกรุงเทพฯ ทำให้เกิดคลื่อนสึนามิ และมีฝุ่นละอองจากเถ้าครอบคลุมพื้นที่หนาถึง 30 ซม.) แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของกระบวนการทางธรณีวิทยา เป็นแหล่งที่น่าสนใจในการศึกษาภูเขาไฟ

ภูเขาไฟกรากะตัว ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน
ภาพจาก: http://www.panoramio.com/photo/40497846

ในส่วนแผ่นดินตอนในของอุทยานแห่งชาติมีป่าฝนพื้นที่ลุ่มที่มีสภาพสมบูรณ์และมีขนาดกว้างขว้างที่สุด ในที่ราบชวา มีพืชและสัตว์ที่ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์หลายชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น แรดชวา


แรดชวา สัตว์ป่าหายากที่บนได้ในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน
ภาพจาก : http://beautyof-theworld.blogspot.com/2013/09/ujung-kulon-national-park.html


ที่ตั้ง
อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน ตั้งอยู่ที่ปลายสุดด้านตะวันตกของเกาะชวา บนไหล่ทวีปซุนดา อยู่ในพื้นที่จังหวัดบันเตน (Banten) ในเขตพื้นทีเกาะชวา และจังหวัดลัมปุง (Lampung) ในเขตพื้นที่ของเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย 


การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ภายใต้ชื่อ อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน Ujung Kulon National Park.   โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกด้านธรรมชาติ จำนวน 2 ข้อ ดังนี้
(vii) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
(x) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


อ้างอิง:
UNESCO World Heritage Centre. “Ujung Kulon National Park” [online].  
Available http://whc.unesco.org/en/list/608  (9 April 2014).

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. “อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (9 เมษายน 2557)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น