2557/07/14

มรดกโลกในอินโดนีเซีย 8 : มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา

ประเภท : มรดกโลกทางธรรมชาติ
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2547 
ชื่อเป็นทางการ : มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra)
ที่ตั้ง : เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย
เรียบเรียง : นัชรี  อุ่มบางตลาด

มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra) 

ความเป็นมาและความสำคัญ

มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra) ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติกุนุงลูเซอร์(Guunung Leuser) อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบาริซานเซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) มีเนื้อที่รวม 2.5 ล้านเฮคเตอร์ (ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร)


สภาพธรรมชาติมรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา
ภาพจาก: http://beautyof-theworld.blogspot.com/2013/08/
tropical-rainforest-heritage-of-sumatera.html

ป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา เป็นบริเวณนี้มีศักยภาพสูงที่สุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่กำลังสูญพันธุ์ เป็นที่อาศัยของพืชประมาณ 10,000 สายพันธุ์ รวมทั้งพืชเฉพาะถิ่น 17 ตระกูล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 200 สายพันธุ์ นก 580 สายพันธุ์ ซึ่ง 465 สายพันธุ์เป็นนกที่อยู่ประจำ และอีก 21 สายพันธุ์เป็นนกที่มาเป็นครั้งคราว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 22 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เอเชียซึ่งไม่เคยพบในที่อื่นในหมู่เกาะของอินโดนีเชีย และอีก 15 สายพันธุ์มีอยู่เฉพาะอินโดนิเซีย รวมไปถึงสัตว์ท้องถิ่นของสุมาตรา คือ อุรังอุตัง



Rafflesia arnoldii หรือดอกบัวผุด และอุรังอุตัง
พืชและสัตว์ที่พบได้ในป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา
ภาพจาก : http://beautyof-theworld.blogspot.com/2013/08/
tropical-rainforest-heritage-of-sumatera.html

ที่ตั้ง 

เกาะสุมาตรา อินโดนีเชีย


การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน ภายใต้ชื่อ มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา Tropical Rainforest Heritage of Sumatra โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกด้านธรรมชาติ จำนวน 3 ข้อ ดังนี้
(vii) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
(ix) เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
(x) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


อ้างอิง:
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. กระทรวงวัฒนธรรม . “แหล่งมรดกโลก : อินโดนีเซีย” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaiwhic.go.th/heritageList.aspx?states=977 (5 เมษายน 2557)

UNESCO World Heritage Centre. “Tropical Rainforest Heritage of Sumatra” [online].Available http://whc.unesco.org/en/list/1167 (12 May 2014).

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. “มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา  (5 เมษายน 2557)

0 comments to “มรดกโลกในอินโดนีเซีย 8 : มรดกป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา”

แสดงความคิดเห็น