เรียบเรียง : นัชรี อุ่มบางตลาด
ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations ) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา (Association of South East Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2504 เพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการ แสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาคสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น โดยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของ 5 ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้การลงนาม ในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN)
ปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Declaration of ASEAN Concord)
สมาชิกผู้ก่อตั้งเริ่มแรก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยอาเซียนได้มีสมาชิกใหม่ จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มเติมตามลำดับ ได้แก่
อาเซียน เป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นการรวมตัวของกลุ่มประเทศ ที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียนมีปัจจัยจาก ความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์ และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน ทำให้สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียด และการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็น มาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคง และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน อาเซียน ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (สถิติในปี 2550)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น