Pages - Menu

2557/08/04

มรดกโลกในมาเลเซีย 1 : มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา

ประเภท : มรดกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2551
ชื่อเป็นทางการ : มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา 
(Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca)
ที่ตั้ง : มะละกาและปีนัง มาเลเซีย
เรียบเรียง : เสถียรพงศ์  ใจเย็น

มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca)

ความเป็นมา

มะละกา เป็นเมืองหลวงของรัฐมะละกา ประเทศมาเลย์เซีย เป็นอาณาจักรเก่าแก่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ด้านทิศตะวันตก ติดกับช่องแคบระหว่างคาบสมุทรมาเลย์กับเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นช่องทางการเดินเรือและค้าขายทางทะเลระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคข้ามไปยังมหาสมุทรอินเดียและแอตแลนติค จึงอยู่ในเส้นทางที่ประเทศมหาอำนาจของโลกในเวลานั้นต้องการยึดครองเพื่อการขยายอาณาเขต

มะละกามีต้นกำเนิดมาจากรัฐสุลต่านมาเลย์ ผู้สถาปนาอาณาจักรแห่งนี้คือ เจ้าชายปรเมศวรแห่งเมืองปาเล็มบัง ที่ลี้ภัยการเมืองออกมาจากอาณาจักรมัชปาหิตบนเกาะชวา ในปี พ.ศ. 1939 และกลายเป็นจักรวรรดิการค้าที่ยิ่งใหญ่ในอีก 200 ปีต่อมา และเป็นแหล่งแรกที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่มาเลเซียผ่านทางพ่อค้ามุสลิมอินเดียที่มาจากปาไซ และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบสุลต่าน
ภาพจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Malacca

มะละกาและจอร์จทาวนได้ถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกกับตะวันตกมากว่า 500 ปี โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมทั้งเอเชียและยุโรปผสมผสานกัน ส่งผลให้เมืองนี้เกิดมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันจะเห็นได้จากอาคารบ้านเรือน โบสถ์ ที่ทำการรัฐบาล จตุรัส ป้อมปราการ ในมะละกา ส่วนจอร์จทาวน์ก็เป็นตัวแทนถึงยุคอาณานิคมอังกฤษ ทั้งสองเมืองนี้ จึงมีภูมิทัศน์ทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่หาไม่ได้ในเอเซียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่ตั้ง

เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา

ความสำคัญ

เมืองมะละกาเป็นเมืองท่าสำคัญบนช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่มะละการุ่งเรืองมาก นั่นจึงเป็นเหตุให้เมืองนี้เป็นที่หมายปองของบรรดาจักรวรรดินิยม จนในที่สุดโปรตุเกสได้เดินทางเข้ามายึดครองในปี พ.ศ. 2054-2184 ก่อนที่จะถูกดัตช์ (ฮอลแลนด์) เข้ามาครอบครองต่อในปี พ.ศ. 2184-2338 ก่อนที่จะเปลี่ยนมือผู้ปกครองมาเป็นอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2338-2484 แล้วญี่ปุ่นก็เข้ามายึดต่ออีกทีในช่วงสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ.2484-2488 จากนั้นมะละกากลับไปอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2488-2500  มาเลเซียปลดแอกเป็นไทด้วยการประกาศอิสรภาพ ในปี พ.ศ. 2500 สถานที่ประกาศเอกราชคือ มะละกา ซึ่งในปัจจุบันตึกอนุสรณ์ในประกาศอิสรภาพยังคงตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในมะละกา

มะละกา เป็นเมืองวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยร่องรอยของประวัติศาสตร์สำคัญของมาเลเซีย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ นครแห่งประวัติศาสตร์ ของชนขาติมาเลเซีย”สถานที่สำคัญของมะละกา คือ บริเวณจตุรัสแดง บนถนน Lak sa ma na หรือที่เรียกว่า จัตุรัสดัตช์ เนื่องจากที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางชุมชนดัตช์ในสมัยที่เข้ามาปกครองมลายู ซึ่งแวดล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกอันสวยงาม มีใจกลางจัตุรัส เป็นลานน้ำพุเก่าแก่แบบอังกฤษที่สร้างถวายแด่ราชินีวิคตอเรียในปี พ.ศ. 2447 และมีสถาปัตยกรรมแบบดัตช์สีแดงโดดเด่น ประกอบไปด้วย โบสถ์คริสต์ ศิลปกรรมดัตช์ประยุกต์ ทีสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2296 และอาคารสตัดธิวท์ (Stadhuys) ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2193 เป็นอาคารดัตช์เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย ปัจจุบันอาคารสตัดธิวท์กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวรรณคดีที่น่าสนใจยิ่งของมะละกา
โบสถ์คริสต์ (Chirst Church) ตั้งอยู่บริเวณจัตรัสแดง
ภาพจาก : http://humantumbleweed.com/?p=1281

อาคารสตัดธิวท์ (Stadhuys) อาคารดัตช์เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย
ภาพจาก : http://www.panoramio.com/photo/31535840

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของมาเลเซีย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 32 เมื่อปี พ.ศ. 2551 ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา จำนวน 3 ข้อ ดังนี้
(ii)  เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii)  เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv)  เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ


อ้างอิง
ผู้จัดการออนไลน์.“มะละกา เมืองมรดกโลกใหม่ในสายธารประวัติศาสตร์” [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มาhttp://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000085737 (21 กรกฎาคม 2557)

วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิพิเดีย. “รัฐมะละกา” [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/รัฐมะละกา (21 กรกฎาคม 2557)

MalaysiaFanclub.“สะพายกล้องชมความงาม มะละกา เมืองมรดกโลก” [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มาhttp://www.malaysiafanclub.com/index.php?topic=192.0 (25 March 2014).

8 ความคิดเห็น:

  1. สนุกและได้ความรู้มากค่ะอาจารย์เบิร์ด.. ขอบพระคุณค่ะ ^^

    ตอบลบ
  2. เริ่มต้นวิธีเปิดวิสัยทัศน์ในการขุดคอคอดกระของประเทศไทยในการยึดอำนาจของคสช.อดีตนายกรัฐมนตรีที่คนไทยเรียกว่ารัฐบาลหอยในฐานะองคมนตรีเขียนจดหมายถึงแนวคิดของการขุดคอคอดกระ จากช่องแคบมะลากาและจอร์จทาวน์อดีตนายกบันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=11&d_id=16ของ นายปรีดี พนมยงค์

    กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ3/3/59 11:25

    ไม่ได้อะไรเลย แต่ได้รู้ล้วนๆคับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24/2/62 11:05

    ได้รู้อะไรขึ้นเยอะค่ะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  6. ขอคุณค่ะ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ3/11/66 09:51

    เก

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ3/11/66 09:53

    ทารกอย่าเจ็บฉัน🗣🗣🗣

    ตอบลบ