2557/08/10

มรดกโลกในมาเลเซีย 4 : อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู

ประเภท : มรดกโลกทางธรรมชาติ
ปีที่ขึ้นทะเบียน :  พ.ศ. 2543
ชื่อเป็นทางการ : อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)
ที่ตั้ง : รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย
เรียบเรียง : แก้วตา  ธีระกุลพิศุทธิ์

อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)

ความเป็นมาและลักษณะทางธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติ (Gunung Mulu National Park) ตั้งชื่อตามภูเขามูลูซึ่งเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับสองในรัฐซาราวักตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย มีความโดดเด่นทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิประเทศแบบคาสต์ (Karst topography) ซึ่งก็คือภูมิประเทศหินปูนสูงๆ ต่ำๆ มีหน้าผาสูงชัน ยอดแหลม ตะปุ่มตะป่ำ มักพบรอยแตกกว้าง ซึ่งพัฒนากลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย ลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวเกิดจากน้ำฝน น้ำใต้ดินละลายชั้นหินปูนซึ่งถูกกัดเซาะได้ดี
เดอะ พินนาเคิล ในอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู
ภาพจาก: en.wikipedia.org/wiki/Gunung_Mulu_National_Park

อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู ครอบคลุมพื้นที่ของภูเขามูลู มียอดเขาซึ่งเป็นภูเขาหินทรา เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด มีความ 2,376 เมตร รวมถึงถ้ำกว้างใหญ่ และถ้ำหลายขนาดที่เชื่อมโครงเป็นเครือข่ายถ้ำ มีถ้ำที่ได้สำรวจแล้วว่ามีความสวยงามน่าชม เป็นที่อยู่ของนกถ้ำและค้างคาวนับล้านตัว ตั้งอยู่ตามเส้นทางยาวอย่างน้อย 295 กิโลเมตร ถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ  “ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์” (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 600 เมตร กว้าง 415 เมตร และสูง 80 เมตร ยอดแหลมหินหน้าผาและซอก ซึ่งถูกกัดเซาะโดยธรรมชาติเขตร้อนเป็นรูปร่างต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงคือหินแหลมขนาดใหญ่ที่คมกริบราวกับมีดโกน ซึ่งถูกกัดกร่อนเป็นแอ่งลึก ซึ่งมีชื่อเรียกตามรูปร่างลักษณะว่า เดอะ พินนาเคิล (The Pinnacles)

ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์ เดอะ พินนาเคิล ในอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู
ภาพจาก : http://puiplaza.blogspot.com/2014/02/blog-post.html

อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู เป็นแหล่งในการศึกษาภูมิประเทศแบบคาสต์ ความโดดเด่นของถ้ำแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยามากกว่า 1.5 ล้านปี และเป็นแหล่งศึกษาพืชเขตร้อนมากที่สุดในโลก มีพื้นที่ 52,864 เฮคเตอร์ (528.64 ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้วยเขตพืชพันธุ์ไม้ 17 เขต มีพืชตระกูลวาสคูล่า (vascular) 3,500 สายพันธุ์ ต้นไม้ตระกูลปาล์ม 109 สายพันธุ์ใน 20 ตระกูล 
อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในปี 2000 จากยูเนสโก ในฐานะเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางธรรมชาติ ที่มีความหลากหลายมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก 

ที่ตั้ง

อุทยานกูนูงมูลูตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในรัฐซาราวัค ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2543 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 24 ที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกด้านธรรมชาติ จำนวน 4 ข้อ คือ
(vii) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
(viii) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
(ix) เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
(x) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


อ้างอิง : 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. “อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู” [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (10 สิงหาคม 2557).

ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม.  “แหล่งมรดกโลก (ทั่วโลก)”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.thaiwhic.go.th/heritageList.aspx?states=1002 (6 สิงหาคม 2557).

“อุทยานแห่งชาติ กูนุงมูลู”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.uasean.com/kerobow01/274
(6 สิงหาคม 2557).

UNESCO World Heritage Centre. “World Heritage List” [online].  Available  http://whc.unesco.org/en/list/1013 (6 August 2014).

2 comments: