2557/08/09

มรดกโลกในมาเลเซีย 2 : แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง

ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2555
ชื่อเป็นทางการ : แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง (Archaeological Heritage of the Lenggong Valley)
ที่ตั้ง : รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย
เรียบเรียง : เสถึยรพงศ์ ใจเย็น

แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง (Archaeological Heritage of the Lenggong Valley)

ความเป็นมาและความสำคัญ

หุบเขาเล็งกองในรัฐเประ (เปรัค Perak) ประเทศมาเลเซีย เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านโบราณคดีมากที่สุดของคาบสมุทรมาเลเซีย มีการขุดค้นพบร่องรอยในยุคก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคต้นที่เก่าแก่ที่สุดในคาบสมุทรมาเลเซีย เล็งกองเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่โล่งและถ้ำ เป็นแหล่งที่ค้นพบโครงกระดูก ฟอสซิลของมนุษย์ซึ่งเรียกว่า มนุษย์เประ (Perak Man)  ในถ้ำพบค้นพบเครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา อาวุธ และเครื่องมือหิน ถ้ำหลายแห่งในเล็งกองเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐานการดำรงชีวิตและการล่าสัตว์ของมนุษย์ในยุคต้น

Gau Gunung Rutuh พื้นที่ส่วนหนึ่งของหุบเขาเล็งกอง

ฟอสซิลโครงกระดูกมนุษย์ Perak Man
ภาพจาก : http://malaysianaexplorer.blogspot.com/2013/07/in-search-of-perak-man-part-1.html

แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง (Archaeological Heritage of the Lenggong Valley) ได้รับการขึ้นทะเบียนเเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2012 รวมแหล่งโบราณคดี 4 แห่ง เข้าด้วยกัน ได้แก่

1) บูกิตบูนูห์ (Bukit Bunuh) และ โกตาแทมปาน (Kota Tampan) เป็นแหล่งโบราณคดีแบบเปิดโล่ง มีพิพิธภัณฑ์และแหล่งขุดค้นโบราณคดีที่ตั้งอยู่ เป็นแหล่งโบราณคดีที่ให้ข้อมูลทางโบราณคดีและทางธรณีวิทยาที่สำคัญเป็นอย่างมาก ที่ทำให้เข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมในยุคโบราณกับพฤติกรรมทางปัญญาและวัฒนธรรมของมนุษย์ในยุคต้นผ่านการใช้งานของเครื่องมือหิน

3) บูกิตจาวา Bukit Jawa เป็นแหล่งขุดค้นโบราณคดีแบบเปิดโล่ง
Bukit Jawa
ภาพจาก : http://lenggong.heritage.gov.my/

3 บูกิตเคปาลากาจาห์ (Bukit Kepala Gajah) เป็นเทือกเขาหินปูนและถ้ำหลายแห่ง แหล่งโบราณคดีอยู่ในเพิงผาหินในเทือกเขาหินปูน บูกิต เคปา กาจาห์ ตั้งอยู่ประมาณ 1 กิโลเมตรจากเมือง เล็งกอง การขุดค้นในปี 1990 เผยให้เห็นหลักฐานของการอยู่อาศัยของมนุษย์ประมาณ 11,000 ถึง 6,000 ปีที่ผ่านมา หลักฐานส่วนใหญ่ประกอบด้วยเครื่องมือหินดังกล่าวเป็นเครื่องมือ และซากสัตว์

4) บูกิตกัวฮาริมัว (Bukit Gua Harimau) เป็นแหล่งโบราณคดี สุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาหินปูนบูกิตกัวฮาริมัว ประมาณ 10 กิโลเมตรจากเมืองเล็งกอง กัวฮาริมัว เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 28 เมตร สูง 20 เมตร พื้นถ้ำปกคลุมไปด้วยก้อนหินงอกหินย้อย มีการขุดพบซากศพโบราณในถ้ำ 11-12 ซาก ดูเหมือนว่าถ้ำแห่งนี้ถูกนำมาใช้เป็นสุสานช่วงระหว่างปลายยุคหินใหม่และยุคโลหะตอนต้น (อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10,200 – 45,00 /2,000 ปีก่อนคริสตกาล)
Gua Harimau ภาพจาก : http://lenggong.heritage.gov.my/ Harimau

แหล่งโบราณคดีเหล่านี้ เป็นหนึ่งในแหล่งที่มีการบันทึกเรื่องราวของมนุษย์ในยุคต้นอยู่ในสถานที่เดียว ที่มีอายุยาวนานและเก่าแก่ที่สุดที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา จำนวนของแหล่งที่พบในพื้นที่ ซึ่งมีขอบเขตสัมพันธ์กันทั้ง 4 แห่งนี้ ทำให้สามารถคาดคะเนปรากฏการก่อตัวขึ้นของประชากรขนาดใหญ่ กึ่งเร่ร่อนกึ่งตั้งหลักปักฐาน กับวัฒนธรรมในสมัยหินเก่า หินใหม่ และยุคโลหะ ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่

ภาพจาก : lenggong.heritage.gov.my

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ในหุบเขาเล็งกอง รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 32 เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 2 ข้อ ดังนี้
(iii)  เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv)  เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ


อ้างอิง :
UNESCO World Heritage Centre. “Archaeological Heritage of the Lenggong Valley”. [online]. Available http://whc.unesco.org/en/list/1396 (20 July 2014).

Department of National Heritage, Malaysia. "Archaeological Heritage of the Laenggong Valley (AHLV) A UNESCO World Heritage Site". [Online]. Available http://lenggong.heritage.gov.my (20 July 2014).

 Wikipedia free encyclopedia. Wikimedia Foundation. “Lenggong” [Online]. Available  http://en.wikipedia.org/wiki/Lenggong  (20 July 2014).

3 comments:

  1. ประชุมมรดกโลกครั้งที่32 เมื่อปี2551ไม่ใช่เหรอคะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19/1/67 13:58

    เริ่มสร้างพ.ศไร
    สร้างเสร็จพ.ศไร

    ตอบลบ