ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2538
ชื่อเป็นทางการ : นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ (Rice Terraces of the Philippine Cordilleras)
ที่ตั้ง : จังหวัดอิฟูเกา เขตบริหารกอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ฟิลิปปินส์
เรียบเรียง : วราพรรณ พูลสวัสดิ์ / นัชรี อุ่มบางตลาด
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ (Rice Terraces of the Philippine Cordilleras)
ความเป็นมา
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการพัฒนาภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ 2000 ปีที่แล้วก่อนยุคอาณานิคมฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลของเทือกเขาบนเกาะทางตอนเหนือของเกาะลูซอน ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ นาขั้นบันไดอันเก่าแก่นี้ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ประกอบด้วยนาขั้นบันได้ 5 แห่ง ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดและน่าประทับใจที่สุด ทั้งหมดสร้างขึ้นโดยชาวอิฟูเกา (Ifugao) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพจากประเทศไต้หวันมาสู่ฟิลิปปินส์ และได้ครอบครองภูเขาเหล่านี้เมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
นาขั้นบันไดในอิฟูเกา ฟิลิปปินส์
ภาพจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Rice_Terraces_of_the_Philippine_Cordilleras
นาขั้นบันไดที่ชื่อเสียงได้แก่นาขั้นบันได้ที่บานาเว (Banaue) แต่ยังมีการทำนาขั้นบันไดในลักษณะนี้อีกหลายแห่งในประเทศฟิลิปปินส์ โดยนาข้าวที่บานาเวนั้นเป็นภูเขาสูงอยู่เหนือน้ำทะเล 5,000 ฟุต นาข้าวแต่ละแห่งมีเนื้อที่ 10,360 ตารางเมตรกิโลเมตร และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538)
ที่ตั้ง
นาขั้นบันไดของเทือกเขาฟิลิปินส์ ที่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภูเขาในเกาะลูซอนทางเหนือ ซึ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมีอยู่ 5 แห่ง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในจังหวัดอิฟูเกา (Ifugao) เขตบริหารกอร์ดิลเยรา (Cordillera Administrative Region) บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ได้แก่
1) นาขั้นบันได Batad ในบัวนาเว (Banaue)
2) นาขั้นบันได Bangaan ในบัวนาเว (Banaue)
3) นาขั้นบัน Mayoyao ใน Mayoyao
4) นาขั้นบันได Hangduan ใน Hangduan
5) นาขั้นบันได้ Nagacadan ใน Kiangan
ความสำคัญและลักษณะทางกายภาพ
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ เป็นการแกะสลักภูเขาทั้งลูกเพื่อใช้ในการปลูกข้าว เนื่องด้วยการทำนาโดยทั่วไปจะต้องใช้พื้นที่ราบ แต่พื้นที่ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์เต็มไปด้วยเขาสูง มีที่ราบน้อย น้ำและพื้นที่ในการทำการเกษตรจึงเป็นปัญหา ชาวอิฟูเกาจึงได้คิดวิธีทำนาแบบขั้นบันไดขึ้นตามไหล่เขา พวกเขาใช้แรงงานคนและเครื่องมือธรรมดาสกัดพื้นที่บนไหล่เขาและที่ลาดเชิงให้เป็นชั้น ๆ ลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได เพื่อช่วยเพิ่มเนื้อที่ในการเพาะปลูก ปรับภูเขาทั้งลูกให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ และสร้างระบบชลประทานโดยปราศจากการใช้เครื่องจักรกล ทำทางระบายน้ำลงมาเป็นขั้น ๆ ให้น้ำจากด้านบนไหลลงมายังแปลงด้านล่างได้ จึงสามารถควบคุมปริมาณน้ำจากธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับการเพาะปลูกข้าว อีกทั้งยังเป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไป ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งในแง่การชลประทานโดยการกักเก็บน้ำฝน และยังช่วยป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย นาขั้นบันไดส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่ใกล้น้ำตก เพราะสามารถนำน้ำจากน้ำตกมาใช้ในนาได้
นาขั้นบันได Batad ในบัวนาเว ฟิลิปปินส์
ภาพจาก : http://www.forumbiodiversity.com/showthread.php/28339-Austronesian-people/page3
ลูกหลานชาวนาที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอิฟูเกาในปัจจุบัน ก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษ และเพาะปลูกด้วยความเชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฏจักรฤดูกาลของการปลูก การควบคุมศัตรูพืชและการเก็บเกี่ยวจะเชื่อมโยงกับรอบดวงจันทร์และพิธีกรรมทางศาสนา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยเทคนิคดั้งเดิมการแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์และความสมดุลกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ ก่อให้เกิดเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมโบราณที่สวยงาม
นาขั้นบันได Nagacadan ใน Kiangan
ภาพจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Rice_Terraces_of_the_Philippine_Cordilleras
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
นาขั้นบันไดบานาเว เป็นสถานที่ที่มีการปลูกข้าวแบบขั้นบันได บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ 2538 โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกด้านวัฒนธรรมจำนวน 3 ข้อ ดังนี้
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(v) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
นาขั้นบันได Mayoyao ใน Mayoyao
ภาพจาก: https://sites.google.com/site/23rdmfpimidyear08/pointsofinterest
อ้างอิง :
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. “นาขั้นบันไดบานาเว” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/นาขั้นบันไดบานาเว (20 มิถุนายน 2557)
UNESCO World Heritage Centre. “Rice Terraces of the Philippine Cordilleras” [online].
Available http://whc.unesco.org/en/list/722 (20 June 2014).
Wikipedia free encyclopedia. Wikimedia Foundation. “Rice Terraces of the Philippine Cordilleras” [Online]. Available http://en.wikipedia.org/wiki/Rice_Terraces_of_the_Philippine_Cordilleras
(20 June 2014).
พรชัย
ตอบลบพรชัยพ่อมึงสิ
ลบหี.....บ
ลบขอบคุณค่ะ เย้มีไปทำรายงานเเย้ว
ตอบลบอิอิ
lho c/:\\d -ios
ตอบลบขอบคุณค้า
ตอบลบขอบคุณครับข้อมูลดีมากสำหรับรายงานผมครับ
ตอบลบ555
ตอบลบ