ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2557
ชื่อเป็นทางการ : กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities)
ที่ตั้ง : ประเทศเมียนมาร์
เรียบเรียง : เสถียรพงศ์ ใจเย็น
กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities)
ที่มาและความสำคัญ
กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities) ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของเมียนมาร์ โดยรวมไปถึงพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 4
ภาพจาก: whc.unesco.org/en/list/1444/
อาณาจักรศรีเกษตรเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ขนาดกว้างขวาง กินพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำอิรวดี โดยอาณาจักรศรีเกษตรนี้ ได้รับอิทธิพล ในเรื่องของภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และ พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย โดยสันนิษฐานว่าชื่อเมืองศรีเกษตร อาจได้มาจากชื่อเมืองโบราณในอินเดีย คือเมืองปุรี ในแคว้นโอริสสา
เมืองศรีเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร นอกจากนี้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันยังพบหลักฐานการก่อตั้งชุมชนของชาวพยูในเมืองเบคถาโนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพุกามประมาณ 100 กิโลเมตร และเมืองฮาลินอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ก่อนที่จะเสื่อมไป เนื่องจากถูกกลุ่มคนไตจากน่านเจ้ายกกองทัพลงมาตีและกวาดต้อนผู้คนชาวพยูไปอยู่ที่เมืองจาตุง ตอนใต้ของจีนบริเวณเมืองคุณหมิงปัจจุบัน
ภาพจาก: whc.unesco.org/en/list/1444/
หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของชาวพยู ซึ่งเชื่อว่าเป็นรากฐานของงานสถาปัตยกรรมของชนชาติพม่า พบที่เมืองศรีเกษตร ได้แก่ เจดีย์ขนาดใหญ่แบบก่อตัน เป็นเจดีย์ทรงระฆังชื่อว่าเจดีย์บอบอจี (Bawbaw Gyi) และเจดีย์ปะยาจีย์ (Pya Gi) ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นแบบให้กับงานสถาปัตยกรรมของพม่าในยุคต่อ ๆ มา ได้แก่ เจดีย์ชเวดากอง มิงกาลาเจดีย์ เจดีย์ธรรมยันสิกะ และเจดีย์วิหาร เป็นสิ่งก่อสร้างจากอิฐที่มีลักษณะรวมกันระหว่างเจดีย์ก่อตันและอาคาร(วิหาร) ที่เข้าไปใช้สอยพื้นที่ภายในในการประกอบพิธีกรรมได้ เจดีย์วิหารที่สำคัญ ได้แก่ วิหารเบเบจี (Bebe Gyi) และวิหารเลเมียทนา (Limyethna) อาคารลักษณะนี้เชื่อว่าพัฒนาไปเป็นเจดีย์วิหารที่มีขนาดใหญ่ในสมัยพุกามต่อมา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานงานประติมากรรมที่ทำจากหินสลัก ประติมากรรมดินเผา ซึ่งพบว่าเป็นดินชนิดเดียวกับอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารและเจดีย์ ประติมากรรมสำริด โดยมีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ประติมากรรมสำริดกลุ่มนักดนตรีและนักเต้นรำ โดยที่ท่ารำนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับอารยธรรมอินเดียอย่างใกล้ชิด
เจดีย์บอบอจี (Bawbaw Gyi Pagoda) ในศรีเกษตร ซึ่งเป็นต้นแบบของเจดีย์ในยุคพุกาม
ภาพจาก: en.wikipedia.org/wiki/Pyu_city-states
จากหลักฐานที่พบ จึงนับได้ว่าชนชาติพยู เป็นชนชาติที่มีความสำคัญในการวางรากฐานงานสถาปัตยกรรมให้กับผู้คนยุคหลังของพม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียนำมาปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของตนอย่างเหมาะสม
แต่ในปัจจุบันนี้ ทั้งศรีเกษตร เปียทะโนมโย และหะลินยี แทบจะไม่หลงเหลือความยิ่งใหญ่ ในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีเพียงซากปรักหักพัง ของโบราณสถาน เพราะยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือเจดีย์ ซากเมืองโบราณ คูน้ำ กำแพงเมือง ที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ปัจจุบันนี้ แหล่งโบราณคดีเมืองเก่าของชาวพยู คงจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้น จากยูเนสโกและประเทศพม่าเอง เพราะเมืองโบราณแห่งนี้ ไม่ได้เป็นสมบัติของประเทศพม่าเท่านั้น แต่เมืองเก่านับพันปีแห่งนี้จะเป็นสมบัติของคนทั้งโลก ที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาสืบต่อไป
ซากเมืองโบราณของอาณาจักรพยูที่ยังคงเหลืออยู่
www.buriramguide.in.th/90565/ท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวรอบโลก/
เมืองโบราณอาณาจักรพยู-มรดกโลกแห่งแรกของพม่า.html
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร ประเทศพม่า
ที่ตั้งของเมืองศรีเกษตร เปียทะโนมโย และหะลินยี ในยุคโบราณ
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
อ้างอิง
บูรพา โชติช่วง. “มรดกโลกพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.siamrath.co.th/web/?q=มรดกโลกพม่าบูรพา-โชติช่วง (4 สิงหาคม 2557)
ที่ตั้งของเมืองศรีเกษตร เปียทะโนมโย และหะลินยี ในยุคโบราณ
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพะยู ได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 38 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา จำนวน 3 ข้อ ดังนี้(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
อ้างอิง
บูรพา โชติช่วง. “มรดกโลกพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.siamrath.co.th/web/?q=มรดกโลกพม่าบูรพา-โชติช่วง (4 สิงหาคม 2557)
modern publishing.“ปยู ชนชาติผู้สร้างรากฐานทางสถาปัตยกรรมของพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.modernpublishing.co.th/ปยู (4 สิงหาคม 2557)
Travel MThai.“เมืองโบราณอาณาจักรพะยู มรดกโลกแห่งแรกของพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://travel.mthai.com/uncategorized/87302.html (4 สิงหาคม 2557)
UNESCO World Heritage Centre. “Pyu Ancient Cities” [online]. Available http://whc.unesco.org/en/list/1444/ (4 สิงหาคม 2557)
พรชัย
ตอบลบประยุท
ตอบลบจันทร์โอชา
ตอบลบสูบหี
ตอบลบ