2557/07/24

ประชาคมอาเซียน : 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน

เรียบเรียง :  นัชรี  อุ่มบางตลาด

ประชาคมอาเซียน

"ประชาคมอาเซียน" ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน 3 เสาหลัก ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
  • ด้านการเมือง ให้จัดตั้ง "ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political- Security Community (APSC)"
  • ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้ง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC)"
  • ด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้จัดตั้ง "ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASEAN Socio-Culltural Community (ASCC)"

1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) 

ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมือง เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน จึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสามเสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ

นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญ ที่จะเกิดขึ้น จากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียน จะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา ที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมือง ระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)

ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเอง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้าของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน” ขึ้นภายในปี 2558 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ

ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรอง และสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียน ในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิก

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC)

มีเป้าหมายให้อาเซียน เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์

5 comments:

  1. ไม่ระบุชื่อ16/8/58 13:01

    มีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16/8/58 13:03

    ใช่มีประโยช์มาก

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ16/8/58 13:05

    เนื้อหาน้อยไปหน่อย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ16/8/58 13:39

      ครคีตี

      ลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ17/9/58 14:55

    มีประโยชน์มากค่ะกำลังทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีเลยเนื้อหาทำให้เข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ^^

    ตอบลบ