ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ.2555
ชื่อเป็นทางการ : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลี : ระบบสุบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ (Cultural Landscape of Bali Province: The Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy)
ที่ตั้ง : จังหวัดบาหลี หมู่เกาะซุนดาน้อย อินโดนีเซีย
เรียบเรียง : นัชรี อุ่มบางตลาด
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลี : ระบบสุบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ (Cultural Landscape of Bali Province: The Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy)
ความเป็นมา
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลี : ระบบสุบักหลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ (Cultural Landscape of Bali Province: The Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy) เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของอินโดนีเซีย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2555 เป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมของนาข้าวแบบขั้นบันได 5 ชั้นของบาหลี โดยมีวัดทำหน้าที่ในการควบคุมและบริหารจัดการการจ่ายน้ำ โดยใช้คลองส่งน้ำและคันกั้นน้ำ (ฝาย) หรือระบบชลประทานเก่าแก่ซึ่งเป็นรู้จักกันในชื่อ “สุบัก” (Subak) สามารถทำการบริหารจัดการน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 195 ตารางกิโลเมตร ภูมิทัศน์ที่รวมอยู่ด้วยกันคืออารามหลวงปูระ ตามัน อายุน (Royal Temple of Pura Taman Ayun) แห่ง พุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งเป็นอาคารสถาปัตยกรรมขนาดมหึมาที่สุดในรูปแบบนี้บนเกาะบาหลี
หลักการที่สำคัญที่สุดของระบบสุบักคือ แนวคิดทางปรัชญา "ไตรหิตครณะ" ซึ่งเป็นหลักปรัชญาตามความเชื่อแบบฮินดูที่แพร่หลายในชาวบาหลี มีต้นกำเนิดจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างบาหลีกับอินเดียมากว่า 2,000 ปีแล้ว มีลักษณะเป็นสถาบันทางสังคมที่ผนวกศาสนา ความเชื่อ เทคโนโลยีการเกษตร วัฒนธรรม และการเมืองท้องถิ่นไว้ด้วยกัน โดยใช้หลักความสมดุลกลมกลืน 3 ประการ อันเป็นหลักการสร้างความสงบสุขแก่ชีวิต ประกอบด้วย ความสมดุลและความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสุกบัก คือ เครือข่ายทางขนส่งน้ำที่ซับซ้อนและอุโมงค์ที่สร้างโดยการเจาะหินและต่อไม้ไผ่เพื่อส่งน้ำซึ่งบางสายยาวกว่ากิโลเมตร ต้องสร้างและดูแลโดยช่างฝีมือโดยเฉพาะในการนำน้ำเข้าไปสู่นาขั้นบันไดชั้นบนสุดของเนินเขาก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่นาข้าวเบื้องล่าง จนก่อให้เกิดรูปแบบกสิกรรมขั้นบันไดอันยั่งยืนและเกิดเป็นภูมิประเทศอันโดดเด่นสวยงาม
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(v) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
(vi) มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
อ้างอิง :
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. กระทรวงวัฒนธรรม . “แหล่งมรดกโลก” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaiwhic.go.th/heritage.aspx (13 ธันวาคม 2556).
ศูนย์แปลภาษา Modern Publishing. (2556). “วิถีชลประทานดั้งเดิม หลักฐานความเจริญทางวัฒนธรรมแห่งอินโดนีเซีย” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.modernpublishing.co.th/วิถีชลประทานดั้งเดิม (12 พฤษภาคม 2557).
UNESCO World Heritage Centre. “Cultural Landscape of Bali Province: the Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy” [online]. Available http://whc.unesco.org/en/list/1194 (12 May April 2014).
ภาพจาก:
http://moniek-unescopostcards.blogspot.com/2013/06/
indonesia-cultural-landscape-of-bali.html
indonesia-cultural-landscape-of-bali.html
ภาพจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Subak_(irrigation)
ที่ตั้ง
จังหวัดบาหลี อินโดนีเซียกลาง อินโดนีเซียความสำคัญ
ระบบ "สุบัก" เป็นวิธีชลประทานแบบดั้งเดิมบนเกาะบาหลี ซึ่งที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 โดยใช้ระบบการบริหารจัดการในการแจกจ่ายน้ำด้วยลำคลองและฝาย ไปตามนาแบบขั้นบันได โดยกำหนดให้มีพื้นที่ที่มีขอบเขตคล้ายหมู่บ้าน ปกครองโดยคนในพื้นที่และมี “อุทกอาราม” หรือ “วัดน้ำ” เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการในการแจกจ่ายน้ำ เพื่อการเพาะปลูกอย่างเสมอภาคและเป็นกันเองแบบประชาธิปไตย เห็นได้จากการให้สิทธิ์ออกเสียงสูงสุดแก่เจ้าของนาที่อยู่ต่ำสุด เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากการตัดสินใจของสมาชิกทำให้ชาวบาหลีกลายเป็นผู้ปลูกข้าวที่มีผลผลิตสูงที่สุดในแถบหมู่เกาะ
อุทกอาราม อารามหลวงปูระ ตามัน อายุน (Royal Temple of Pura Taman Ayun)
ภาพโดย: virgo83 จาก http://www.panoramio.com/photo/84561978
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสุกบัก คือ เครือข่ายทางขนส่งน้ำที่ซับซ้อนและอุโมงค์ที่สร้างโดยการเจาะหินและต่อไม้ไผ่เพื่อส่งน้ำซึ่งบางสายยาวกว่ากิโลเมตร ต้องสร้างและดูแลโดยช่างฝีมือโดยเฉพาะในการนำน้ำเข้าไปสู่นาขั้นบันไดชั้นบนสุดของเนินเขาก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่นาข้าวเบื้องล่าง จนก่อให้เกิดรูปแบบกสิกรรมขั้นบันไดอันยั่งยืนและเกิดเป็นภูมิประเทศอันโดดเด่นสวยงาม
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลี : ระบบสุบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 36 ภายใต้ชื่อ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลี : ระบบสุบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ (Cultural Landscape of Bali Province: the Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy) เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, สหพันธรัฐรัสเซีย โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกด้านวัฒนธรรมจำนวน 4 ข้อ ดังนี้(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(v) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
(vi) มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
อ้างอิง :
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. กระทรวงวัฒนธรรม . “แหล่งมรดกโลก” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaiwhic.go.th/heritage.aspx (13 ธันวาคม 2556).
ศูนย์แปลภาษา Modern Publishing. (2556). “วิถีชลประทานดั้งเดิม หลักฐานความเจริญทางวัฒนธรรมแห่งอินโดนีเซีย” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.modernpublishing.co.th/วิถีชลประทานดั้งเดิม (12 พฤษภาคม 2557).
UNESCO World Heritage Centre. “Cultural Landscape of Bali Province: the Subak System as a Manifestation of the Tri Hita Karana Philosophy” [online]. Available http://whc.unesco.org/en/list/1194 (12 May April 2014).