ประเภท : มรดกโลกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ.2554
ชื่อเป็นทางการ : ป้อมปราการราชวงศ์โฮ (Citadel of the Ho Dynasty)
ที่ตั้ง : จังหวัดทัญฮว้า เวียดนาม
เรียบเรียง : เสถียรพงศ์ ใจเย็น
ป้อมปราการราชวงศ์โฮ (Citadel of the Ho Dynasty)
ความเป็นมาและความสำคัญ
ป้อมปราการราชวงศ์โฮ (Citadel of the Ho Dynasty) เป็นกำแพงพระราชวังหลวงสมัยราชวงศ์โฮ ระหว่าง พ.ศ.1940 - 1950 สร้างโดยจักรพรรดิโฮกุ๋ยหลี ในขณะที่ยังเป็นที่ปรึกษาจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่น เวลานั้นเมืองหลวงของเวียดนามอยู่ที่ทังลอง ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ราบเปิดกว้าง ประกอบกับต้องรับศึกสงครามจากจีนเป็นระยะ โฮกุ๋ยหลีจึงเสนอโครงการสร้างพระนครแห่งใหม่ไว้ป้องกันข้าศึกนอกประเทศ
ภาพวาดจำลองลักษณะป้อมปราการราชวงศ์โฮ ในสภาพสมบูรณ์
http://vietsciexdir.net/ovsed-blog/blog/2011/07/03/
citadel-of-ho-dynasty-new-world-cultural-heritage/วังหลวงแห่งใหม่ก่อสร้างได้สำเร็จภายใน 3 เดือน เรียกว่าพระราชวังตะวันตก (Tay Do) เพื่อให้แตกต่างจากพระราชวังทังลองซึ่งได้ชื่อใหม่ว่าพระราชวังตะวันออก (Dong Do) ระหว่างที่วังหลวงกำลังก่อสร้าง โฮกุ๋ยหลีได้บังคับจักรพรรดิเจิ่นธ่วนโตน (Tran Thuan Ton,พ.ศ.1920-1942) สละราชสมบัติให้แก่เจิ่นเธี๊ยวเด รัชทายาทและหลานภรรยาของตนใน ปี พ.ศ. 1941 จากนั้นก็ชิงอำนาจสถาปนาราชวงศ์ใหม่ ทิ้งทังลองเป็นอดีตราชธานีในปี พ.ศ. 1943 จักรพรรดิโฮกุ๋ยหลีครองราชย์เพียงปีเดียวก็แต่งตั้ง Ho Han Thuong โอรสองค์รองเป็นจักรพรรดิองค์ที่สองและได้สถาปนาตนเอง เป็นพระบิดาสูงสุดแห่งจักรพรรดิ (Emperor’s Highest Father)
ราชวงศ์โฮ ครองบัลลังก์ได้เพียง 7 ปีเท่านั้น จักรพรรดิ Yongle ก็ส่งกองทัพบุกตีเมืองได้สำเร็จใน พ.ศ. 1950 เวียดนามจึงต้องตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอีกครั้ง ผู้คนและทรัพย์สินโดยเฉพาะหนังสือ เอกสารสำคัญ ถูกกวาดต้อนรวบรวมไปยังราชสำนักหมิง อดีตจักรพรรดิทั้งสองก็ต้องใช้แรงงานในต่างแดนจนสิ้นใจ
ราชธานีตะวันตกตั้งตามหลักฮวงจุ้ย อยู่ในที่ราบกลางหุบเขา 4 ลูก คืออันตน (An Ton) ทวงเซิน (Tuong Son หรือภูเขาช้าง) ฮัคเกวียน (Hac Khuyen หรือภูเขาสุนัขดำ) และด่งเซิน (Don Son) มีแม่น้ำโอบล้อม 2 สาย คือ แม่น้ำมา (Ma) และแม่น้ำบ๋วย (Buoi) จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมหากมีสงครามมาประชิดเพราะผังเมืองใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ คือ ภูเขาทั้งสี่ด้านและแม่น้ำทั้งสองสายเป็นปราการชั้นแรกสำหรับการป้องกันการป้องกันศัตรู
สิ่งก่อสร้างทั้งปวงก็ถูกทำลายด้วยผลพวงของสงครามและเวลาที่ล่วงผ่านไป 600 ปี เหลือเพียงกำแพงขนาดยักษ์ 4 ด้าน เป็นประจักษ์พยานถึงเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ในอดีต ความพยายามอนุรักษ์โบราณสถานมีค่าแห่งนี้จึงได้กำหนดพื้นที่สำคัญออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พระราชวัง (Hoang Thanh) คืออาณาเขตภายในป้อมปราการ, พระแท่นบูชา หรือ The Nam Giao Altar (Hao Thanh) ในพื้นที่นอกป้อมปราการ และกำแพงพระนครส่วนหนึ่ง (La Thanh)
http://www.thanhniennews.com/travel/old-great-walls-18031.html
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของป้อมปราการ
ตัวปราสาทสร้างขึ้นจากก้อนหิน ซึ่งแต่ละก้อนมีขนาดประมาณ 2 เมตร x 1 เมตร x 0.70 เมตร
การวางผังพระราชวัง ใช้ทิศใต้เป็นด้านสำคัญอันเป็นคติโบราณของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การวางผังพระราชวัง ใช้ทิศใต้เป็นด้านสำคัญอันเป็นคติโบราณของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ประตูทิศใต้ เป็นประตูหน้า เป็นประตูหลักของพระราชวัง โครงสร้างทรงเหลี่ยม สูง 9.5 เมตร กว้าง 34.85 เมตร หนา 15.17 เมตร เจาะซุ้มโค้งเป็นทางเข้าออก 3 ทาง
- ประตูทิศเหนือ เป็นโครงสร้างทรงเหลี่ยม สูง 8.10 เมตร กว้าง 21.34 เมตร หนา 13.55 เมตร เจาะซุ้มโค้งเป็นทางเข้าออก 1 ทาง
- ประตูทิศตะวันออกและประตูทิศตะวันตก เป็นโครงสร้างทรงเหลี่ยมเจาะตรงกลางเป็นประตูซุ้มโค้งสูงพ้นโครงสร้างทรงเหลี่ยมเป็นทางเข้าออก ประตูกำแพงตะวันออกกว้าง 23.30 เมตร หนา 13.40 เมตร
- ประตูทิศตะวันตกกว้าง 19.30 เมตร หนา 13.40 เมตร ประตูทั้งสี่ด้านเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยคันดินและมีคูน้ำล้อมรอบ
http://www.vietnamguider.com/tourism/vietnam-in-photo/people-culture/2011/07/
beautiful-photos-of-ho-citadel-the-world-natural-heritage.html
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่ตำบลเต็ยซาย (Tây Giai) อำเภอหวิญหลก (Vĩnh Lộc) จังหวัดทัญฮว้า ริมชายฝั่งเวียดนามเหนือตอนกลางห่างไปทางใต้ของกรุงฮานอย 150 กิโลเมตร
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ป้อมปราการราชวงศ์โฮ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกด้านวัฒนธรรมจำนวน 2 ข้อ คือ
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iv) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
อ้างอิง :
เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์, ดร. “มรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศเวียดนามที่น่าค้นหา”[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://articles.citu.tu.ac.th/wp-content/uploads/2013/04/Research04new.pdf
ช้างน้อย ฮอลิเดย์.ข้อมูลท่องเที่ยว.”ประวัติศาสตร์เวียดนาม” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.changnoi-holiday.com/vietnam/history.php
ศูนย์ข้อมูลแหล่งมรดกโลก.กระทรวงวัฒนธรรม.”พระราชวังแห่งราชวงศ์โฮ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaiwhic.go.th/heritageList.aspx?
- .เวียดนาม.”บุคคล สถานที่ และเหตุการณ์สำคัญ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.asean-info.com/asean_members/vietnam_person_place.html